คำพ้องสำหรับแฟชั่นที่ยั่งยืน

ฟัง
2 จำนวนนาทีที่อ่าน
แชร์:
คำพ้องสำหรับแฟชั่นที่ยั่งยืน

แฟชั่นที่ยั่งยืนกลายเป็นสิ่งที่อยู่เหนือทางเลือก แต่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุกวันนี้ ความยั่งยืนกลายเป็นปัจจัยที่ถูกกำหนดให้มีในตู้เสื้อผ้าของผู้บริโภคหลายล้านคน ซึ่ง Aditya Birla Fashion and Retail Ltd (ABFRL) เป็นแกนนำในการเคลื่อนไหวด้านแฟชั่นที่ยั่งยืน โดยมีการนำแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้กับทั่วทุกการดำเนินงาน เส้นทางที่ประสบความสำเร็จนี้ช่วยให้ ABFRL ก้าวขึ้นสู่สถานะบริษัทสิ่งทอที่มีความยั่งยืนที่สุดในเอเชีย

ด้วยการมุ่งเน้นอย่างจริงจังไปที่การลดการบริโภคพลังงาน น้ำ และการลดปริมาณขยะ ABFRL จึงอยู่ในอันดับที่ 8ของกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องแต่งกาย และสินค้าฟุ่มเฟือย จากการประเมินผลงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลจากรายงานปี 2020 ของการประเมินความยั่งยืนองค์กรทั่วโลกของ S&P

”ในทศวรรษที่ผ่านมา ที่ ABFRL นี้เราทำการบุกเบิก โดยมีการผลักดันเรื่องความยั่งยืนให้ขึ้นไปอยู่แถวหน้าของอุตสาหกรรมแฟชั่นและการค้าปลีก ด้วยเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบ เราตั้งเป้าที่จะสร้างการเป็นผู้นำทางความคิดเพื่อเร่งการผลักดันด้านความยั่งยืนสู่อุตสาหกรรม” คุณ Ashish Dikshit กรรมการผู้จัดการ ABFRL กล่าว

ABFRL ได้จัดตั้งโครงการริเริ่มต่าง ๆ มากมายเพื่อผลักดันวาระเรื่องความยั่งยืนต่อไป “เส้นทางของเราเป็นการปูทางให้กับโครงการหลายอย่าง เช่น ความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์, ประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากร, การใช้พลังงานทดแทน และการสร้างห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบ ซึ่งเส้นทางนี้มีความมั่นคงแข็งแกร่งขึ้นด้วยการประสานความร่วมมือกับองค์กรทั่วโลกและระดับประเทศ ตลอดจนการเข้าเป็นสมาชิกในองค์กรระดับโลกต่าง ๆ” คุณ Dikshit เสริม

ในฐานะแบรนด์ไลฟ์สไตล์และผู้ประกอบการด้านแฟชั่นเพียงอย่างเดียวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอินเดีย บริษัทจึงเป็นผู้นำอุตสาหกรรมสิ่งทออินเดียในการทำให้ความยั่งยืนกลายเป็นสาระสำคัญหลักในปรัชญาการดำเนินงาน หนึ่งในผลิตภัณฑ์ของบริษัท Earth Chinos ที่พัฒนาขึ้นโดยแบรนด์ Peter England ได้รับเลือกให้เป็นกรณีศึกษาในส่วนนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนในแพลตฟอร์มการทดสอบด้านสิ่งแวดล้อมของ UN

Earth Chinos ใช้ประโยชน์จากของเสียทางการเกษตรเพื่อทำสีย้อม ในขณะที่การย้อมสีส่วนใหญ่ประกอบด้วยปิโตรเคมีภัณฑ์ เหล่านี้ถูกทำขึ้นโดยใช้บีทรูท, เปลือกส้ม, มะกอก, เปลือกอัลมอนด์ และวัตถุดิบจากธรรมชาติอื่น ๆ การย้อมสีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนี้ส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อผู้มีส่วนร่วมทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทาน ในขณะที่สามารถสนองตอบต่อประเด็นความยั่งยืนทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมได้ด้วยเช่นกัน

 

โมเดลธุรกิจที่ยั่งยืน

ABFRL ได้แสดงให้เห็นว่า แฟชั่นนั้นสามารถไปด้วยกันกับธรรมชาติ โดยมีการทำงานเพื่อให้สามารถลดการบริโภคไฟฟ้าเครือข่ายได้อย่างชัดเจนผ่านมาตรการในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การทำให้การฝังกลบขยะเป็นศูนย์ และบรรลุความสำเร็จด้านความเป็นกลางทางน้ำ

ยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนของ ABFRL นำมาซึ่งการสร้างระบบนิเวศเพื่อเอื้ออำนวยต่อการยกระดับในปัจจุบันจากวิธีการแบบ ‘ถลุง (Take)-ผลิต (Make)-ทิ้ง (Dispose)’ ไปเป็นวิธีที่มีการหมุนเวียนมากยิ่งขึ้นทั่วทั้งวัฏจักรชีวิต บริษัทมีพันธมิตรหลักสำหรับโรงงานนวัตกรรมเครื่องแต่งกายหมุนเวียน (Circular Apparel Innovation Factory) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการดำเนินการที่นำโดยอุตสาหกรรม ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

sustainability-03.webp

”เราตั้งเป้าที่จะตอบแทนกลับคืนให้มากกว่าที่เราได้มาจากระบบนิเวศของเรา และทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างใหม่ ฟื้นคืน และให้ชีวิตใหม่แก่ระบบนิเวศและชุมชนที่เราเข้าไปประกอบกิจการ ซึ่งยังจะช่วยสนับสนุนให้เป็นอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ เกิดการหมุนเวียนและเป็นอุตสาหกรรมแฟชั่นและการค้าปลีกที่มีความยืดหยุ่น เพื่อการนี้ เราจึงขยับเข้าใกล้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับโลกได้อีกนิด” Dr. Naresh Tyagi ประธานเจ้าหน้าที่ด้านความยั่งยืน ABFRL กล่าว

ABFRL ได้พัฒนากรอบการทำงานที่เข้มงวดเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในแบบอยู่ในโลกที่มีทรัพยากรจำกัด และเพื่อเป็นแนวทางที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินงานของบริษัทจะพร้อมก้าวสู่อนาคต โปรแกรมด้านความยั่งยืนของบริษัทในชื่อ ‘ReEarth - For Our Tomorrow’ มีกรอบการทำงานที่กว้างขวางสำหรับกระบวนการและระบบต่าง ๆ ด้านความยั่งยืน

ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อให้เป็นสีเขียว  
เทคโนโลยีคือแม่แรงขนาดใหญ่ในแผนการด้านความยั่งยืน บริษัทมีการใช้แดชบอร์ดดิจิทัล แพลตฟอร์ม IT เพื่อเก็บข้อมูล KPI ด้านความยั่งยืน กรรมวิธี Product Sustainability Attribute Methodology ถูกนำมาใช้เพื่อวัดและขยายขอบเขตความยั่งยืนให้กับผลิตภัณฑ์ทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้แน่ใจว่ามาตรวัดสีเขียวจะบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมาย มาตรฐานทางเทคนิคของกลุ่ม (มาตรฐานสากล) ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยได้รับการนำมาใช้เพื่อให้เข้าใจได้ถึงระดับความสอดคล้องและเพื่อการวางแผนการดำเนินงานระยะสั้นและระยะยาว

การเป็นสีเขียว หมายถึงการสร้างกลไกที่แข็งแกร่งเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืน บริษัทมีการทำงานควบคู่ไปกับห่วงโซ่คุณค่าทั้งหลายเพื่อประเมินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ABFRL เป็นผู้ค้าปลีกสัญชาติอินเดียรายแรกที่มีการใช้ Restricted Substances List (RSL) โดยตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา มีการประเมินซัพพลายเออร์ทั้งหลายถึงการยึดมั่นต่อเกณฑ์ RSL

ยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนของ ABFRL ยังนำมาซึ่งการสร้างระบบนิเวศเพื่อเอื้ออำนวยต่อการยกระดับในปัจจุบันจากวิธีการแบบ ‘ถลุง (Take)-ผลิต (Make)-ทิ้ง (Dispose)’ ไปเป็นวิธีที่มีการหมุนเวียนมากยิ่งขึ้นทั่วทั้งวัฏจักรชีวิต บริษัทมีพันธมิตรหลักสำหรับโรงงานนวัตกรรมเครื่องแต่งกายหมุนเวียน (Circular Apparel Innovation Factory) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการดำเนินการที่นำโดยอุตสาหกรรม ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

ABFRL ยังประสานการทำงานร่วมกับพันธมิตรระดับโลก อย่างองค์กร Sustainable Apparel Coalition - Higg Index, Ellen Mc Arthur Foundation ฯลฯ และยังเป็นส่วนหนึ่งของวาระแห่งชาติสำหรับความยั่งยืนผ่านทาง SU.RE (Sustainable Resolution)

 

sustainability-02.webp

มองไปยังอนาคต

ในขณะที่มีความคืบหน้าอย่างมากอย่างเป็นผลสำเร็จในด้านการลดการปล่อยคาร์บอน ABFRL ตั้งเป้าที่จะยกระดับไปสู่วิธีการแบบผลิตภัณฑ์เป็นศูนย์กลางในแบบองค์รวม โดยเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางความยั่งยืน ‘Sustainability 2.0’ “เส้นทาง 'Sustainability 2.0' จะเปลี่ยนผ่านยุทธศาสตร์ความยั่งยืนจากแบบ นำโดยกระบวนการ ไปเป็นแบบ นำโดยผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังจะช่วยให้มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ เกิดการหมุนเวียนและเป็นอุตสาหกรรมแฟชั่นและการค้าปลีกที่มีความยืดหยุ่น เพื่อการนี้ เราจึงขยับเข้าใกล้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับโลก (Global Sustainable Development Goals (SDGs) ได้อีกนิด” Dr. Tyagi กล่าว

การได้มาซึ่งความยั่งยืนของ ABFRL เป็นข้อพิสูจน์ที่โต้แย้งไม่ได้ว่าสังคมและธุรกิจนั้นไม่จำเป้นต้องมีความขัดแย้งต่อกัน ด้วยเป็นบริษัทไลฟ์สไตล์และแฟชั่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดในอินเดีย ABFRL จะยังคงมุ่งมั่นที่จะยกระดับเพื่อแฟชั่นที่เป็นมิตรต่อโลกต่อไป

 

Sustainability 2.0

ABFRL มีการกำหนดกรอบการทำงานที่เข้มงวดเพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปในแบบอยู่ในโลกที่มีทรัพยากรจำกัด โดยเกี่ยวข้องกับ:

  • การปลูกจิตสำนึกด้านความยั่งยืนตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • มุ่งเน้นที่การสรรหาวัตถุดิบ ซึ่งรวมถึงวัสดุที่ยั่งยืน การจัดการพลังงานสะอาด สิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ การจัดการน้ำและเคมีภัณฑ์ และข้อบกพร่องเป็นศูนย์
  • การลงทุนในการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน
  • การรับรองถึงการหมุนเวียน การรีไซเคิล และอัปไซเคิล

 

เป็นผู้นำจากแถวหน้า: ABFRL บรรลุเป้าหมายสำหรับเหตุการณ์สำคัญใหม่ในปีงบประมาณ 2020-2021

  • ABFRL ติดอันดับ บริษัทที่มีความยั่งยืนที่สุดในเอเชีย' และ อันดับ 8 จากทั่วโลก สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องแต่งกาย และสินค้าฟุ่มเฟือยจากการประเมินผลงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลจากรายงานปี 2020 ของการประเมินความยั่งยืนองค์กรทั่วโลกของ S&P และยังเป็นสมาชิกของ S&P Global Sustainability Yearbook 2021 ด้วย
  • ABFRL ได้รับรางวัล 'Outstanding Accomplishment Award' ในหมวด ความเป็นเลิศขององต์กร ในงานประกาศรางวัล CII-ITC Sustainability Awards 2020
  • ABFRL ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งใน 'บริษัทที่มีความยั่งยืนที่สุดในอินเดียประจำปี 2020' โดย BW Business World
  • ABFRL ได้รับเกียรติจากรางวัล 'Golden Peacock Award 2020' สำหรับความยั่งยืนในภาคธุรกิจสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย
หากต้องการสอบถามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสื่อ โปรดติดต่อ:

คุณ Sandeep Gurumurthi

หัวหน้ากลุ่ม ฝ่ายสื่อสารและแบรนด์

Aditya Birla Management Corporation Pvt. Ltd.

โทรศัพท์: +91-22-6652-5000 / 2499-5000

โทรสาร: +91-22-6652-5741 / 42

จดหมาย: sandeep.gurumurthi@adityabirla.com