ก้าวสู่ความเป็นบวกของน้ำ
- Copy
ริมฝั่งแม่น้ำจัมพัล (Chamber) คือที่ตั้งของโรงงานเส้นใยเรยอน (VSF) แห่งแรกของ Grasim ที่ก่อตั้งในปี 1954 ที่ Nagda ในรัฐมัธยประเทศ Nagda เป็นพื้นที่ที่มักประสบกับภาวะความเครียดน้ำ (Water Stress) ทางบริษัทจึงได้เริ่มสังเกตว่าทำไมความขาดแคลนน้ำจึงปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
หลายปีที่ผ่านมา Birla Cellulose ซึ่งเป็นหน่วยงานธุรกิจที่ดำเนินงานที่โรงงาน Nagda ได้ทำการสร้างอ่างเก็บน้ำและเขื่อนเพื่อใช้กักเก็บน้ำฝน ในขณะที่ทำให้การบริโภคน้ำของตนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วย ซึ่งเป็นการทำให้มั่นใจได้ว่าชุมชนโดยรอบจะมีน้ำใช้อย่างเพียงพอตลอดทั้งปี แต่เรื่องราวเกี่ยวกับน้ำของ Grasim ไม่ได้จบอยู่ที่ตรงนั้น
หน่วยงานที่ Nagda มีการเคลื่อนไหวอย่างจริงจัง โดยให้การมุ่งมั่นที่จะลดความเข้มของน้ำ (Water Intensity) ให้ได้ 50% ภายในปี 2025 และวิสัยทัศน์นั้นก็ส่งผลจนเป็นที่ประจักษ์ให้เห็นแล้ว ปัจจุบันนี้ หน่วยงานใช้น้ำน้อยกว่า 20 ลูกบาศก์เมตรในการผลิตเส้นใยจำนวนหนึ่งตัน ซึ่งเป็นจำนวนที่ต่ำกว่ามาตรฐาน EU-BAT ที่ 35-70 ลูกบาศก์เมตรเป็นอย่างมากสำหรับการใช้น้ำต่อตันของเส้นใย
คล้ายกันกับเรื่องการใช้น้ำที่ลดลงเป็นอย่างมากที่ Hindalco Industries, Aditya Birla Fashion and Retail Ltd. (ABFRL) และ UltraTech Cement Ltd.
ในวันอนุรักษ์น้ำโลกนี้ เรามาดูกันว่าบริษัทในกลุ่ม Aditya Birla Group เหล่านี้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการอนุรักษ์น้ำไว้อย่างไร และตอนนี้ได้มุ่งหน้าสู่อนาคตในเชิงบวกด้านน้ำกันอย่างไร
หลักการ 4R ของ Birla Cellulose
การผลิต VSF นั้นเป็นกระบวนการที่ใช้น้ำมาก โดยต้องเข้าใช้น้ำปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง Birla Cellulose ได้นำหลักการ 4R มาใช้ (Reduce (ลด), Reuse (การใช้ซ้ำ), Recycle (รีไซเคิล) และ Regenerate (สร้างใหม่)) ในการดำเนินงานเพื่อการปิดลูปเกี่ยวกับน้ำ บริษัทได้ออกแบบคิดค้นเทคโนโลยีที่ใช้น้ำในปริมาณต่ำอันล้ำหน้า ที่สามารถลดการบริโภคน้ำได้อย่างเด่นชัดและช่วยฟื้นฟูสภาพน้ำที่ผ่านการใช้งานแล้วได้ โดยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วนั้นมีคุณภาพที่ดีกว่าน้ำดิบที่มาจากแม่น้ำ
หลักการ 4R
- Reduce (ลด) – เทคโนโลยีที่มีการใช้น้ำน้อยสำหรับการชำระล้างเส้นใย, การกู้คืนสารเคมี และหอหล่อเย็น (Colling Tower)
- Reuse (การใช้ซ้ำ) - เทคโนโลยีการหมุนเวียนเพื่อนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำได้หลายรอบในกระบวนการตกแต่งขั้นสุดท้ายและการกู้คืน
- Recycle (รีไซเคิล) - เทคโนโลยีที่อาศัยเมมเบรนเพื่อฟื้นฟูสภาพน้ำ
- Regenerate (สร้างใหม่) - การกับเก็บน้ำเพื่อผลิตซ้ำน้ำบาดาล

ผลลัพธ์:
- การบริโภคน้ำลดลงที่ 34% จากปีงบประมาณ 2015 ถึง 2020
- ความหนาแน่นของน้ำลดลงที่ 60% จากการดำเนินงานในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
- เกณฑ์มาตรฐานระดับโลกสำหรับการบริโภคน้ำในปริมาณที่ต่ำที่สุดในอุตสาหกรรมเส้นใย
กระบวนการนำน้ำที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสียแล้วกลับมาใช้ใหม่ (Zero Liquid Discharge) ของ Grasim
ขณะนี้ Birla Cellulose กำลังสร้างกระบวนการนำน้ำที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสียแล้วกลับมาใช้ใหม่ที่ Nagda ซึ่งเป็นแห่งแรกของอุตสาหกรรม VSF ระบบที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงานนี้จะบำบัดน้ำเสียเพื่อนำมาใช้ใหม่ ในขณะที่ยังสามารถกู้คืนเกลือที่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ในงานหลายอย่างด้วย
ทางกลุ่มมีโรงงาน ZLD อยู่หลายแห่งที่เป็นที่เชิดหน้าชูตา การสร้างความเปลี่ยนแปลงด้วย ZLD นี้บุกเบิกขึ้นโดยฝ่ายคลออัลคาไล ใน Renukoot รัฐอุตตรประเทศของ Grasim ซึ่งปัญหาการขาดแคลนน้ำ, การขึ้นภาษีน้ำ, ผลกระทบต่อแหล่งน้ำ, กฎข้อบังคับของภาครัฐ และความจำเป็นที่ต้องสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ เหล่านี้ล้วนเป็นการผลักดันให้หน่วยงานต้องประยุกต์ใช้ ZLD
โรงงาน ZLD แห่งแรกของ Grasim – ฝ่ายคลออัลคาไล - Renukoot
- บุกเบิก ZLD ที่กลุ่มบริษัท Aditya Birla Group
- ลดการเกิดของเสียได้ 85%
- การบริโภคน้ำจืดที่ลดลง 25%
- รางวัลแพลตินัมสำหรับนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมในสาขาสิ่งแวดล้อมจากงานประกาศรางวัล Green India Awards ประจำปี 2019
ระบบ ZLD เป็นกระบวนการที่มีขนาดใหญ่ การเกิดน้ำเสียลดลงไปที่ 85% และน้ำเหล่านี้ก็ถูกนำมาใช้ซ้ำ ซึ่งเป็นการตัดการบริโภคน้ำจืดได้ที่ 25% และประหยัดน้ำจืดได้ถึง 2,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ด้วยได้รับแรงหนุนจากการนำ ZLD มาใช้จนเป็นผลสำเร็จของหน่วยงาน หน่วยงานของกลุ่มอีกหกแห่งจึงกำลังหาทางที่จะทำตามบ้าง

Hindalco ลดการบริโภคน้ำจืด
โรงกลั่นอะลูมินาระดับโลกของ Hindalco ใน Belagavi รัฐกรณาฏกะ มีการดึงน้ำมาจากแอ่งเก็บน้ำ Hikdal ซึ่งเป็นทรัพยากรตามฤดูกาลที่ต้องพึ่งพาฝนในพื้นที่ลุ่มน้ำ นอกจากนี้ หน่วยงานยังต้องพึ่งพาน้ำจากหน่วยงานในเมืองด้วย แต่ในยามที่หน่วยงานนั้น ๆ ต้องหยุดดำเนินงานชั่วคราว ก็จะไม่มีแหล่งน้ำสำรองแต่อย่างใด ด้วยน้ำได้กลายเป็นทรัพยากรที่สร้างความกดดัน ทางหน่วยงานจึงตัดสินใจที่จะคิดค้นนวัตกรรมที่จะทำให้การใช้น้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
การรีไซเคิลนั้นถือเป็นก้าวแรก และหน่วยงานได้สร้างบ่อพักที่เชื่อมกันสำหรับน้ำปริมาตร 6,000 ลูกบาศก์เมตรเพื่อกักเก็บน้ำสำหรับการบำบัดและนำมาใช้ซ้ำ ตลอดจนมีระบบปั๊มและการเดินท่อประปาเพื่อส่งจ่ายน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจากบ่อพักน้ำไปยังโรงกลั่น ทางหน่วยงานถึงขนาดทำการติดตั้งโถปัสสาวะชายแบบไม่ใช้น้ำ 25 โถไว้ที่โรงกลั่น และระบบบำบัดน้ำเสีย (Sewage Treatment Plant - STP) ที่มีกำลังการผลิต 450 KLD ได้เริ่มทำการทดสอบการใช้งานระบบบำบัดน้ำเสียในชุมชนแล้ว โดยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจะถูกใช้สำหรับการทำสวนในบริเวณโดยรอบและในเขตของพนักงาน
โรงกลั่นอะลูมินาของ Hindalco ใน Belagavi
- บ่อพักปริมาตร 6,000 ลูกบาศก์เมตรสำหรับน้ำที่ผ่านการบำบัด
- โถปัสสาวะชายแบบไม่ใช้น้ำ 25 โถที่โรงกลั่น
- 450KLD STP สำหรับการบำบัดน้ำในชุมชน
ผลลัพธ์
- การบริโภคน้ำจืดเพื่อการดำเนินงานลดลงที่ 40%
- ประหยัดค่าใช้จ่ายรายปีได้ถึง 24 ล้านรูปี
- การบริโภคน้ำในชุมชนลดลงที่ 112,500 ลิตร/เดือน
มาตรการต่าง ๆ ทั้งหมดเหล่านี้สามารถช่วยได้ โดยการบริโภคน้ำจืดที่ 110 ML ต่อเดือนของโรงกลั่นลดลงไปได้ถึงประมาณ 40% พร้อมกับประหยัดได้มากขึ้นถึง 24 ล้านรูปต่อปีสำหรับหน่วยงาน
การดำเนินงานด้วยความเป็นกลางทางน้ำที่ ABFRL
ในปี 2018 รายงาน NITI Aayog คาดการณ์ถึง ‘Day Zero’ (วันที่สถานที่ใด ๆ มีความเป็นไปได้ที่จะไม่มีน้ำดื่มของตนเอง) สำหรับเมืองในอินเดีย 21 เมืองในปี 2020 ซึ่งเมืองใหญ่อย่างเจนไน, บังกะลอร์, ไฮเดอราบัด และกรุงเดลี จัดว่าเป็นเมืองที่เปราะบางมากที่สุด และรายงานนี้ก็ได้กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานอย่างเป็นลำดับที่ ABFRL ณ เวลานั้น ABFRL ได้ตั้งเป้าหมายไว้สูงในการทำให้เกิด ‘ความเป็นกลางทางน้ำ’ ให้ได้ในทั่วทุกหน่วยงานภายในปี 2020
บริษัทได้ทำการติดตั้งระบบสำหรับกักเก็บน้ำฝนและ Artificial Aquifer Recharge (AAR) โดย AAR หมายถึงการส่งผ่านน้ำบนผิวน้ำลงสู่ชั้นหินอุ้มน้ำใต้ดิน ซึ่งเป็นการเลียนแบบธรรมชาติของการปล่อยน้ำบาดาลในแนวระดับน้ำใต้ดิน ABFRL ใช้น้ำฝนที่กักเก็บไว้ในการผลิตและการบริโภคภายในชุมชน ส่วนน้ำที่เหลือก็จะถูกใช้เพื่อเติมน้ำใต้ดินผ่านทาง AAR ด้วยความช่วยเหลือของบ่ออัดน้ำลงดินและการเติมเครื่องเจาะ ในปีงบประมาณ 2019-2020 มีการกักเก็บน้ำฝนกว่า 43 ล้านลิตรและมีการเติมในแบบทำขึ้น
ความพยายามในการอนุรักษ์น้ำของ ABFRL
- ระบบกักเก็บน้ำฝนแบบติดตั้งและระบบ Artificial Aquifer Recharge ทั่วทุกหน่วยงาน
- การดำเนินงานแบบแห้งที่ไม่มีการปล่อยของเสีย
- การรีไซเคิลน้ำเสียทั่วทุกโรงงาน
ผลลัพธ์
- เกิด ‘ความเป็นกลางทางน้ำ’ ภายในปี 2020
- กักเก็บและเติมน้ำ 43 ล้านลิตรในปีงบประมาณ 2019 - 2020
- รีไซเคิลน้ำ 96 ล้านลิตรในปีงบประมาณ 2019 - 2020
กระบวนการผลิตของ ABFRL ไม่ทำให้เกิดการปลดปล่อยน้ำเสีย แต่ทางบริษัทได้ทำการรีไซเคิลน้ำโสโครกที่เกิดขึ้นในทั่วทุกโรงงาน และจากนั้นก็จะนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วมาใช้ซ้ำสำหรับการจัดสวนและห้องสุขา ความพยายามเหล่านี้ช่วยให้บริษัทรีไซเคิลน้ำได้กว่า 96 ล้านลิตรเฉพาะในปีงบประมาณ 2019-2020 เท่านั้น

UltraTech มีการใช้เหมืองสำหรับการกักเก็บน้ำฝน
เมื่อ UltraTech ทำการสำรวจถึงโอกาสในการกักเก็บน้ำฝนที่ Vikram Cement Works ซึ่งเป็นหน่วยงานของบริษัทใน Khor รัฐมัธยประเทศก็ได้เกิดปัญหาขึ้น หินแข็งที่เรียงซ้อนกันในพื้นที่ Khor และ Suwakheda หมายความได้ว่ามีน้ำฝนเพียงแค่ 10% เท่านั้นที่จะซึมลงดินได้ และน้ำ 90% จะสูญไป
UltraTech จึงได้ข้อสรุปเป็นแผนที่ไม่ธรรมดาในระหว่างปี 2019-2020 คือการเก็บน้ำที่ปล่อยออกจากบริเวณเหมืองของโรงงานไว้ในหลุมบ่อในเหมือง ซึ่งจะทำให้กักเก็บน้ำฝนได้ UltraTech ทำการปรับเปลี่ยนการวางแผนและการดำเนินงานของเหมืองเพื่อให้สามารถสกัดแร่ให้ได้มากที่สุดจากชั้นเหมืองที่ต่ำกว่า ซึ่งเป็นการช่วยให้เก็บสะสมน้ำฝนไว้ในบริเวณเหล่านี้ได้
ความสำเร็จของโครงการริเริ่มแบบอาศัยเหมืองทำให้โรงงานกักเก็บน้ำได้ถึง 8.5 ล้านลูกบาศก์เมตรเฉพาะในปีงบประมาณ 2020 ซึ่งเป็นต้นแบบให้หน่วยงานอื่น ๆ นำไปปฏิบัติตาม
ความพยายามในการอนุรักษ์น้ำของ UltraTech
- การกักเก็บน้ำฝนโดยอาศัยเหมือง
- การจัดการต้นน้ำในชุมชน
- ทุกไซต์งานมีการปล่อยน้ำเป็นศูนย์
ผลลัพธ์
- ปีงบประมาณ 2020 มีการกักเก็บน้ำ, เติมเต็ม, รีไซเคิล และนำน้ำมาใช้ซ้ำในปริมาณกว่า 52 ลูกบาศก์เมตร
- มีการรีไซเคิลน้ำที่ใช้ไปกว่า 14%
- ความเป็นบวกของน้ำที่ 2.8 เท่า
ความมั่นคงของน้ำนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานในทุกไซต์งานของ UltraTech โดยทางบริษัทได้นำโครงการริเริ่มที่เกี่ยวกับต้นน้ำมาใช้ภายในชุมชนท้องถิ่นที่หลายไซต์งาน - Rajashree Cement Works (รัฐกรณาฏกะ), Andhra Pradesh Cement Works (รัฐอานธรประเทศ), Dhar Cement Works (รัฐมัธยประเทศ) และ Baga Cement Works (รัฐหิมาจัลประเทศ)
อีกบริษัทยังยึดมั่นต่อนโยบายการปล่อยน้ำเสียเป็นศูนย์ และมีการลงทุนในการรีไซเคิลน้ำ การเติมน้ำบาดาล และการกักเก็บน้ำฝนด้วย ซึ่งทำให้สามารถกักเก็บน้ำ เติมน้ำ รีไซเคิลน้ำ และนำน้ำมาใช้ซ้ำได้มากกว่า 52 ล้านลูกบาศก์เมตรในทั่วทุกตำแหน่งที่ตั้งของหน่วยงานการผลิตในปีงบประมาณ 2020
ความพยายามเหล่านี้ส่งผลให้ UltraTech มีความเป็นบวกของน้ำที่ 2.8 เท่า บริษัทที่กล้าได้กล้าเสียแห่งนี้ตั้งเป้าว่าจะทำให้เกิดความเป็นบวกของน้ำที่ 4 เท่าภายในปีงบประมาณ 2021
การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน (Water Stewardship) นั้นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการดำเนินงานที่ Aditya Birla Group ความพยายามที่พร้อมด้วยจิตสำนึกถึงการอนุรักษ์น้ำและการเก็บรักษาน้ำจืดนั้นสะท้อนให้เห็นถึงการแก้ปัญหาของบริษัทเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืน อีกยังเป็นการโอบรับต่อธีมของวันอนุรักษ์น้ำโลกในปี 2021 นี้ - ‘Valuing water’ ซึ่งก็คือการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า
คุณ Sandeep Gurumurthi
หัวหน้ากลุ่ม ฝ่ายสื่อสารและแบรนด์
Aditya Birla Management Corporation Pvt. Ltd.
โทรศัพท์: +91-22-6652-5000 / 2499-5000
โทรสาร: +91-22-6652-5741 / 42