Hindalco รายงานผลประกอบการไตรมาส 3 ปีงบประมาณ 2017 (สำหรับกิจการเดี่ยวที่ยังไม่ผ่านการตรวจสอบ)

13 กุมภาพันธ์, 2560

คลิกที่นี่เพื่อดูผลลัพธ์

คลิกที่นี่เพื่อดูงานนำเสนอ

PBDT เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว เป็น 8,170 ล้านรูปี จาก 2,740 ล้านรูปี ในไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2016

อะลูมิเนียม

  • EBITDA ที่บันทึกในไตรมาส 3 ปีงบประมาณ 2017 นี้แสดงถึงปริมาณการใช้ที่เพิ่มขึ้นและประสิทธิภาพการทำงานที่ดีอย่างต่อเนื่อง
  • โดยเหมืองถ่านหิน Gare Palma IV/4 และ Gare Palma IV/5 และเหมือง Kathautia ได้เริ่มดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ 2017 ซึ่งเป็นการเพิ่มความมั่นคงด้านถ่านหินขึ้นมากกว่าเดิม
  • มีการชำระหนี้ จำนวน 3,420 ล้านรูปีล่วงหน้าในเดือนมกราคม 2017 ซึ่ง ณ ปัจจุบันได้ชำระแล้วจำนวน 10,310 ล้านรูปี

ทองแดง

  • ธุรกิจได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากปริมาณความต้องการในประเทศลดลงและมีการใช้ผลิตภัณฑ์ลดน้อยลง (กรดซัลฟูริก และไดแอมโมเนียมฟอสเฟต)

ไฮไลท์ทางการเงิน:

(หน่วยเป็นล้านรูปี)
รายละเอียด ไตรมาส 3 ไตรมาส 2 9 เดือน
ปีงบ 17 ปีงบ 16 ปีงบ 17 ปีงบ 17 ปีงบ 16
รายได้จากการดำเนินการ 9,915 8,716 9,562 27,636 27,450
รายรับก่อนดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA)          
อะลูมิเนียม 876 354 808 2,555 1,172
ทองแดง 330 352 366 960 1,083
อื่นๆ 200 153 319 735 683
EBITDA ทั้งหมด 1,405 859 1,493 4,249 2,938
กำไรก่อนค่าเสื่อมราคาและภาษี (PBDT) 817 274 898 2,467 1,121
รายรับก่อนหักรายการสินค้าพิเศษและภาษี 459 (380) 547 1,419 180
กำไร/(ขาดทุน)ก่อนภาษี 459 (380) 632 1,504 180
กำไร/(ขาดทุน)หลังภาษี 321 #(330) 440 1,054 152
กำไรต่อหุ้น (EPS) – พื้นฐาน (เป็นรูปี) 1.56 (0.16) 2.14 5.14 0.74

#บันทึกกำไรหลังหักภาษีในไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2016 อยู่ที่ 400 ล้านรูปีตามมาตรฐานการบัญชีอินเดีย (Indian GAAP)

หมายเหตุ: บริษัทได้นำมาตรฐานการบัญชีแห่งอินเดีย (Ind-AS) มาใช้ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2016 ตามข้อบังคับของกระทรวงกิจการธุรกิจแห่งอินเดีย (Ministry of Corporate Affairs) ปัจจัยในช่วงเวลาที่นำมาเปรียบเทียบได้รับการตรวจสอบแล้วตามข้อกำหนด Ind-AS.1
โดยผลประกอบการทางการเงินของกิจการเดี่ยวนี้ไม่รวมกับผลประกอบการของ Utkal Alumina International Limited

ไฮไลท์ไตรมาส 3:

Hindalco Industries Limited ซึ่งเป็นบริษัทแกนนำของ Aditya Birla Group ได้ประกาศผลประกอบการสำหรับกิจการเดี่ยวที่ยังไม่ผ่านการตรวจสอบสำหรับไตรมาส สิ้นสุด ณ 31 ธันวาคม 2016 บริษัทมีการบันทึกรายได้ที่ 99,150 ล้านรูปี EBITDA (กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย) อยู่ที่ 14,050 ล้านรูปี สูงขึ้นถึงร้อยละ 64 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในปีงบประมาณ 2016 ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 3,210 ล้านรูปี

รายได้ในไตรมาสนี้สูงขึ้นร้อยละ 14 จากปีก่อน อันมีปัจจัยหลักมาจากปริมาณการใช้โดยเฉลี่ยที่สูงขึ้นทั้งอะลูมิเนียมและทองแดง ประกอบกับค่าเงินรูปีที่อ่อนตัวลงและปริมาณอะลูมิเนียมที่เพิ่มมากขึ้น รายได้จากอะลูมิเนียมเติบโตขึ้นในอัตราร้อยละ 9 สืบเนื่องจากมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นและอัตราการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก รายได้จากทองแดงสูงขึ้นถึงร้อยละ 19 เนื่องจากมีปริมาณการใช้ทองแดงเพิ่มมากขึ้น แต่ถูกลดทอนส่วนหนึ่งจากราคาผลิตภัณฑ์ (กรดซัลฟูริก และไดแอมโมเนียมฟอสเฟต)

ราคาวัตถุดิบส่วนใหญ่ยังคงส่งผลกระทบ แม้ราคาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าได้ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องจากราคาน้ำมันดิบก็ตาม ราคาออกไซด์ของอะลูมิเนียมต่ำลง เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน

เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน EBITDA รายไตรมาส อยู่ที่ 14,050 ล้านรูปี สูงขึ้นร้อยละ 64 ซึ่งสะท้อนถึงผลการดำเนินการที่ดีขึ้นอย่างมากจากการปฏิบัติงานที่มั่นคง ค่าเสื่อมราคาอยู่ที่ 3,580 ล้านรูปี เปรียบเทียบกับ 3,120 ล้านรูปีในไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2016 ซึ่งสูงขึ้นอันเนื่องมาจากความก้าวหน้าจากการลงทุนในโครงการต่างๆ ค่าธรรมเนียมทางการเงินอยู่ที่ 5,880 ล้านรูปี เปรียบเทียบกับ 5,850 ล้านรูปี ในไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2016 กำไรก่อนภาษีของไตรมาสอยู่ที่ 4,590 ล้านรูปี ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 3,210 ล้านรูปี

เมื่อเปรียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2017 รายได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 โดยมีสาเหตุหลักจากปริมาณการใช้ที่สูงขึ้น EBITDA ลดลงในอัตราร้อยละ 6 เนื่องจากปริมาณที่ลดลง และเนื่องจากมีอัตราการใช้ทองแดงที่ลดลง ประกอบกับเงินคงคลังบางส่วนได้นำไปใช้ชดเชยกับภาคส่วนอะลูมิเนียม ดังนั้น กำไรสุทธิจึงลดลงไปร้อยละ 27 เนื่องจากในไตรมาสที่แล้ว กำไรนั้นได้รวมถึงรายได้พิเศษไว้ด้วยในจำนวน 850 ล้านรูปี

ภาคธุรกิจอะลูมิเนียม:

ในระหว่างไตรมาส การผลิตออกไซด์ของอะลูมิเนียม (รวมโรงงาน Utkal Alumina) อยู่ที่ 744 KT (กิโลตัน) ซึ่งสูงขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2016 การผลิตเหล็กอะลูมิเนียมอยู่ที่ 320 KT ซึ่งสูงขึ้นร้อยละ 9 มีผลการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการปฏิบัติการณ์ที่มั่นคง อีกหนุนด้วยราคาวัตถุดิบที่ลดลงซึ่งส่งผลต่อการบันทึก EBITDA ที่ 8,760 ล้านรูปี ซึ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 147 จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน

ส่งผลให้ EBITDA สูงขึ้นในอัตราร้อยละ 8 โดยมีสาเหตุหลักเนื่องจากมีปริมาณการใช้ที่เพิ่มมากขึ้น

ภาคธุรกิจทองแดง:

เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน EBITDA ลดลงที่ร้อยละ 6 ซึ่งมีผลมาจากปริมาณการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ลดลงและ TcRc (ค่าถลุงและค่าการกลั่น) ที่ลดลง ปริมาณการผลิตแคโทดยังคงระดับเดิมที่ 94 KT ส่วนการผลิตก้าน CC rod ลดลงที่ 8 KT เนื่องจากมีปริมาณความต้องการที่ลดลง

ซึ่งส่งผลให้ EBITDA ลดลงมาที่ร้อยละ 10 เนื่องจากเกิดการลดลงของปริมาณความต้องการในประเทศและความต้องการใช้ที่ลดลง

Utkal Alumina International Ltd. [UAIL]:

โรงงานผลิตออกไซด์ของอะลูมิเนียมที่ UAIL สามารถผลิตออกไซด์ได้ 393 KT ในไตรมาสที่ 3ปีงบประมาณ 2017 โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 364 KT ในไตรมาสที่ 3 ปี 2016 EBITDA ของ UAIL ในระหว่างไตรมาสปัจจุบัน อยู่ที่ 1,400 ล้านรูปี

(จำนวนนี้ไม่ได้นำไปผนวกเข้ากับทรัพย์สินในผลประกอบการทางการเงิน)

บริษัทแสดงผลการดำเนินงานที่ดีเยี่ยม แม้จะอยู่ในภาวะที่มีความต้องการผันผวนและในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ก็ตาม ประสิทธิภาพการดำเนินการที่แข็งแกร่งนี้ มีผลมาความสามารถของการปฏิบัติงานที่มั่นคงและราคาอะลูมิเนียมที่กลับสู่ภาวะปกติ ปริมาณการนำเข้าจำนวนมากยังคงส่งผลต่อยอดขายภายในประเทศ Hindalco จะยังคงมุ่งเน้นที่การปฏิบัติงานที่ดีเลิศ การเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น การให้ความสำคัญต่อลูกค้า และการถือครองเงินสดเพื่อประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น

เนื้อหาใน "ข่าวประชาสัมพันธ์" ฉบับนี้ ที่กล่าวถึง วัตถุประสงค์ การวางแผน การประมานการ ความคาดหวังหรือคาดการณ์ ของบริษัท ซึ่งอาจเป็น “แถลงการณ์คาดการณ์” ที่อยู่ภายใต้กฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยหลักทรัพย์ ผลลัพธ์ที่แท้จริงอาจแตกต่างไปจากที่นำเสนอหรือที่กล่าวโดยนัย ปัจจัยสำคัญที่อาจสร้างความแตกต่างให้กับผลการดำเนินงานของบริษัท ได้แก่ สภาพอุปสงค์และอุปทานในอินเดียและตลาดโลก ราคาสินค้าสำเร็จรูป ความคล่องตัวของการจัดเก็บสินค้าและราคา วงจรความต้องการของตลาดและราคาตามตลาดหลักของบริษัท การเปลี่ยนแปลงกฎข้อบังคับของภาครัฐ การจัดเก็บภาษี การพัฒนาด้านเศรษฐกิจในอินเดียและในประเทศต่างๆ ที่บริษัทเข้าไปดำเนินธุรกิจ และปัจจัยอื่นๆ อาทิ การดำเนินคดีความและข้อตกลงด้านแรงงาน บริษัทไม่รับผิดชอบต่อการแก้ไขหรือปรับปรุงแถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้า อันเกิดจากการพัฒนา ข้อมูลหรือเหตุการณ์ หรือสาเหตุอื่นที่เกิดขึ้นในภายหลังแต่อย่างใด