เติบโตอย่างแข็งแกร่งทั้งปริมาณ รายได้ และ EBITDA ในทุกภาคธุรกิจ

11 สิงหาคม, 2559

ไตรมาส 1 ปีงบประมาณ 2017: รายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 9; EBITDA สูงขึ้นร้อยละ 36; กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 64

คลิกที่นี่เพื่อดูผลลัพธ์

คลิกที่นี่เพื่อดูงานนำเสนอ

ผลประกอบการรวมกิจการ

หน่วยเป็นล้านรูปี
  สิ้นสุดไตรมาส
30.06.2016 30.06.2015  
รายได้สุทธิ 9,089 8,366 ร้อยละ 9
กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีนิติบุคคล ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) 2,214 1,628 ร้อยละ 36
กำไรสุทธิ 830 508 ร้อยละ 64

กราซิมได้ประกาศผลการดำเนินงานอันเยี่ยมยอดของไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ 2017 โดยมีการเติบโตของปริมาณ รายได้ EBITDA และกำไรสุทธิในทุกภาคธุรกิจ รายได้รวมอยูที่ 90,890 ล้านรูปี ซึ่งสูงขึ้นร้อยละ 9 EBITDA รวมกิจการสูงขึ้นร้อยละ 36 เป็น 22,140 ล้านรูปี ส่วนกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 64 เป็น 8,300 ล้านรูปี เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปีก่อนที่ 5,080 ล้านรูปี

การแตกหุ้น

คณะกรรมการบริหารได้พิจารณาอนุมัติการแบ่งส่วนหุ้นของบริษัทจากหนึ่ง (1) หุ้นทีมีมูลค่าหุ้นละ 10 รูปีชำระมูลค่าเต็มให้แตกเป็นจำนวนห้า (5) หุ้นที่มีมูลค่าหุ้นละ 2 รูปีชำระมูลค่าเต็มตามการอนุมัติ การแตกหุ้นจะมีผลตามวันที่บันทึกตามการพิจารณาของคณะกรรมการบริหาร

เส้นใยเรยอน (VSF)

ราคาเส้นใยเรยอนในตลาดโลกได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากมีความต้องการอย่างต่อเนื่องและมีสินค้าคงคลังปริมาณต่ำในประเทศจีน

ปริมาณการขายขยายตัวในอัตราร้อยละ 17 โดยมีสาเหตุหลักจากความต้องการในตลาดภายในประเทศ ภาวะขาดแคลนน้ำเป็นแวลานานส่งผลให้ต้องปิดโรงงาน Nagda เป็นเวลา 1 เดือน ซึ่งปีก่อนหน้าได้ปิดทำการเป็นเวลา 2 เดือน แต่ผลที่ได้ตามมาก็คือมีการผลิตเพิ่มมากขึ้นในไตรมาสนี้ ด้วยราคาในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการลดค่าเงินรูปี จึงส่งผลให้มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้น รายได้ในไตรมาสเพิ่มขึ้นร้อยละ 32 จาก 12,540 ล้านรูปีเป็น 16,540 ล้านรูปี EBITDA เพิ่มขึ้นจาก 1,390 ล้านรูปีเป็น 3,220 ล้านรูปีโดยมีปัจจัยมาจากรายได้ที่สูงขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น และหน่วยพลังงานเส้นใยพิเศษที่เพิ่มสูงขึ้น

ธุรกิจเคมีภัณฑ์

ธุรกิจเคมีภัณฑ์ประสบความสำเร็จโดยมีการเติบโตของรายได้เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 17 เป็น 9,040 ล้านรูปี ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน การระงับการผลิตชั่วคราวในโรงงานบางแห่งในอุตสาหกรรมในไตรมาสนี้ส่งผลใรคาโซดาไฟเพิ่มสูงขึ้น และด้วยเหตุนี้ ประกอบกับการลดค่าเงินรูปีจึงทำให้เกิดการขาย ECU เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 7 ปริมาณและการใช้ที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ EBITDA สูงขึ้นจาก 1,720 ล้านรูปีเป็น 2,320 ล้านรูปี

บริษัทในเครือปูนซีเมนต์ (Ultra Tech Cement)

UltraTech บรรลุเป้าหมายโดยมีปริมาณการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 ซึ่งดีกว่าภาคอุตสาหกรรมที่เติบโตสูงขึ้นประมาณร้อยละ 4 รายได้อยู่ที่ 65,900 ล้านรูปี เปรียบเทียบกับ 63,410 ล้านรูปีในช่วงเดียวกันของปีก่อน EBITDA อยู่ที่ 16,260 ล้านรูปี สูงขึ้นร้อยละ 25 อันเป็นผลจากปริมาณที่สูงขึ้นและราคาตัวแปรที่ลดลง ซึ่งได้แก่น้ำมันและค่าขนส่ง กำไรหลังหักภาษีสูงขึ้นร้อยละ 29 จาก 6,040 ล้านรูปีเป็น 7,800 ล้านรูปี

การดำเนินการจัดหากำลังการผลิตซีเมนต์ 21.20 ล้าน TPA จาก Jaiprakash Associate Ltd. และ Jaypee Cement Corporation Ltd. คาดว่าจะแล้วเสร็จใน 9-10 เดือนภายหลังได้รับการอนุมัติ

แนวโน้ม

เส้นใยเรยอนมีแนวโน้มที่ดีทั่วโลก การเพิ่มกำลังการผลิตได้ชะลอลงเนื่องจากมีอัตราการผลิตเพิ่มมากขึ้นในภาคอุตสาหกรรม

บริษัทจะยังคงมุ่งมั่นที่จะให้ความสำคัญกับการขยายตลาด VSF ในอินเดียโดยการเป็นพันธมิตรร่วมกับธุรกิจสิ่งทอและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าให้มากขึ้นผ่านแบรนด์ Liva การเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ด้วยใยสังเคราะห์พิเศษจะเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่บริษัทจะเน้นให้ความสำคัญเช่นกัน

คาดว่าความต้องการสารละลายจะเพิ่มสูงขึ้นในอินเดียเนื่องจากภาคอุตสาหกรรมนี้มีการตื่นตัวมากขึ้น และด้วยเหตุนี้ จึงได้เพิ่มกำลังผลิตสารละลายเป็น 208K TPA ผ่านการขยายโครงสร้างพื้นฐานการผลิตโซดาไฟที่โรงงาน Vilayat (รัฐคุชราต) และแก้ไขปัญหาการผลิตที่โรงงานอื่นๆ

สำหรับซีเมนต์ คาดว่าความต้องการจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 7 ในปีนี้ สืบเนื่องจากรัฐบาลได้มุ่งเน้นการพัฒนาสาธารณูปโภค ที่อยู่อาศัย เมืองอัจฉริยะ และอื่นๆ ซึ่งบริษัทมีศักยภาพเพียงพอที่จะตอบสนองต่อความต้องการเพื่อพัฒนาประเทศนี้ได้

Grasim มีดุลยภาพในการเก็บเกี่ยวประโยชน์จากการลงทุนเพื่อการขยายการผลิต สอดคล้องกับดุลยภาพในการจัดหาเพื่อให้ได้ผลตอบรับทางเศรษฐกิจสะท้อนกลับมาได้อย่างสมดุลย์

แถลงการณ์เตือน

แถลงการณ์ใน “ข่าวประชาสัมพันธ์” นี้ เป็นการให้ข้อมูลด้านวัตถุประสงค์ การวางแผน การประมานการ ความคาดหวังหรือคาดการณ์ ซึ่งอาจเป็น “แถลงการณ์คาดการณ์” ที่อยู่ภายใต้กฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยหลักทรัพย์ ผลลัพธ์ที่แท้จริงอาจแตกต่างไปจากที่นำเสนอหรือที่กล่าวโดยนัย ปัจจัยสำคัญที่อาจสร้างความแตกต่างให้กับผลการดำเนินงานของบริษัท ได้แก่ สภาพอุปสงค์และอุปทานในอินเดียและตลาดโลก ราคาสินค้าสำเร็จรูป ความคล่องตัวของการจัดเก็บสินค้าและราคา วงจรความต้องการของตลาดและราคาตามตลาดหลักของบริษัท การเปลี่ยนแปลงกฎข้อบังคับของภาครัฐ การจัดเก็บภาษี การพัฒนาด้านเศรษฐกิจในอินเดียและในประเทศต่างๆ ที่บริษัทเข้าไปดำเนินธุรกิจ และปัจจัยอื่นๆ อาทิ การดำเนินคดีความและข้อตกลงด้านแรงงาน บริษัทไม่รับผิดชอบต่อการแก้ไขหรือปรับปรุงแถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้า อันเกิดจากการพัฒนา ข้อมูลหรือเหตุการณ์ หรือสาเหตุอื่นที่เกิดขึ้นในภายหลังแต่อย่างใด