Birla Cellulose คว้ารางวัลนวัตกรรมและห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน จาก UN Global Compact Network India

15 เมษายน, 2564

Birla Cellulose ส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท Aditya Birla Group และเป็นผู้ผลิตเส้นใยเซลลูโลสที่ทำจากฝีมือมนุษย์ (MMCF) รายใหญ่ที่สุดในโลก คว้ารางวัล ‘นวัตกรรมและห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนระดับชาติ (National Innovative and Sustainable Supply Chain Awards)’ จาก UN Global Compact Network India

กรณีศึกษาที่นำเสนอโดยบริษัท - Liva Reviva โดย Birla Cellulose และห่วงโซ่อุปทานด้านแฟชั่นแบบหมุนเวียนทั่วโลกที่สามารถสืบย้อนได้ - ได้รับรางวัลด้านนวัตกรรมไฟเบอร์รีไซเคิลและหมุนเวียน ที่ผลิตจากเศษผ้าที่ใช้แล้ว และความโปร่งใสของห่วงโซ่อุปทานแบบ ‘Live’ หรือมีการเชื่อมโยงกันตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ และสามารถสืบย้อนรอยได้ผ่านทางแพลตฟอร์มบล็อคเชน GreenTrackT อันมีเอกลักษณ์ที่เป็นหนึ่งเดียว

กรณีศึกษานี้ช่วยแก้ปัญหาท้าทายได้สองอย่าง: จัดการกับขยะจากสิ่งทอที่มักถูกนำไปเผาหรือฝังกลบเนื่องจากขาดแคลนเทคโนโลยี และขาดความโปร่งใส/ความสามารถในการสืบย้อนรอยในห่วงโซ่อุปทานด้านแฟชั่นที่ยืดยาว กระจัดกระจาย และซับซ้อน

คุณ Dilip Gaur ผู้อำนวยการธุรกิจของ Birla Cellulose และกรรมการผู้จัดการ Grasim Industries กล่าวว่า “เราภูมิใจที่ได้รับเกียรติในโซลูชั่นยุคอนาคตอันเป็นนวัตกรรมสำหรับการอัปไซเคิลขยะจากสิ่งทอ ซึ่งช่วยลดแรงกดดันต่อวัสดุบริสุทธิ์ และทำให้เกิดความโปร่งใสในสายงานด้านแฟชั่นที่ซับซ้อน ความพยายามนี้สอดรับไปกับเป้าหมาย UN SDG ที่เราให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ และทุ่มเทความพยายามเพื่อสร้างโมเดลธุรกิจหมุนเวียนที่ต้องพึ่งพาคู่ค้า ที่เพิ่มมูลค่าให้กับผู้มีส่วนร่วม ผู้คนทั้งหลาย และโลก”

คุณ Shabnam Siddiqui ผู้อำนวยการบริหาร UN Global Compact Network India กล่าวว่า “รางวัลที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกนี้ได้พบกับกรณีศึกษาที่โดดเด่นจากองค์กรอันทรงเกียรติ ที่ได้ให้ความทุ่มเทอย่างเป็นที่น่าจดจำต่อการปรับเปลี่ยนและปรับใช้แนวทางปฏิบัติในห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนและเป็นนวัตกรรมในองค์กรของตน เราขอแสดงความยินดีกับ Birla Cellulose สำหรับงานที่เป็นการบุกเบิกเพื่อเร่งให้เกิดความหมุนเวียนและความโปร่งใสไว้ในห่วงโซ่อุปทานภายในเวลาอันสั้น ซึ่งเป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ UN ที่มีลำดับความสำคัญสูง

Birla Cellulose บรรลุความสำเร็จในนวัตกรรมที่เป็นการเปิดทางให้กับการผลิตเส้นใยเรยอน ‘Liva Reviva’ ที่ใช้ผ้าฝ้ายที่ผ่านการใช้งานแล้ว 20% โดยปฏิบัติตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน นวัตกรรมนี้มีความแตกต่างจาก Recycled Claim Standard (RCS) และแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ Birla Cellulose ในการพัฒนาโซลูชันแห่งอนาคต

ผ่านทางแพลตฟอร์ม GreenTrackT แนวใหม่ที่อาศัยเทคโนโลบยีบล็อคเชน Birla Cellulose พร้อมด้วยคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานสามารถติดตามทิศทางการไหลไปของวัสดุในห่วงโซ่อุปทานด้านเส้นใยได้ในแบบเรียลไทม์ ตั้งแต่จากผืนป่าที่ผ่านการรับรองไปจนถึงผู้บริโภคปลายทาง ด้วยการสแกน QR Code ง่าย ๆ ผู้บริโภคจะสามารถมองเห็นเส้นทางความยั่งยืนจากต้นสายไปถึงปลายสายได้ และช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อจากข้อมูลที่ได้

นับแต่มีการเปิดตัวในปี 2020 แบรนด์ระดับโลกหลายแบรนด์ได้เพิ่ม Liva Reviva ไว้ในรายการสิ่งที่ต้องจัดหา เนื่องจากแบรนด์เหล่านี้มีขั้นตอนที่ต้องตัดสินใจอย่างเด็ดขาดถึงเศรษฐกิจหมุนเวียน พันธมิตรที่เหนียวแน่นของเราทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกช่วยให้เราสามารถสร้าง ‘โลจิสติกส์ย้อนกลับที่ปฏิบัติได้’ และสร้างมูลค่าที่สูงขึ้นให้กับขยะสิ่งทอสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กด้านการรีไซเคิลขยะ

Birla Cellulose ให้ความสำคัญต่อการใช้วัตถุดิบทางเลือกที่เพิ่มมากขึ้น เช่น ขยะจากสิ่งทอ และมุ่งมั่นที่จะเร่งสร้างนวัตกรรมที่สอดคล้องไปกับเป้าหมาย UN SDGs 2030

เกี่ยวกับ Birla Cellulose

Birla Cellulose บริษัทในกลุ่มบริษัท Aditya Birla Group เป็นผู้นำด้านความยั่งยืนที่มุ่งเน้นไปที่การผลิตไฟเบอร์เซลลูโลสจากฝีมือมนุษย์ (MMCF) Birla Cellulose (https://www.birlacellulose.com/) ดำเนินงานอยู่ในหน่วยงานเยื่อไม้และเส้นใย 12 แห่งทั่วโลก โดยใช้ระบบเฉพาะและเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพทางสิ่งแวดล้อมในกระบวนการ ศูนย์วิจัยขั้นสูงทั่วโลก 5 แห่งมีอาคารวิจัยที่ทันสมัย และโรงงานนำร่องที่ให้การสนับสนุนต่อการดำเนินงานและการตลาดทั่วโลก

Birla Cellulose เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมสำหรับแนวทางปฏิบัติในการสรรหาอย่างยั่งยืน และครองอันดับ 1 ของโลกในรายงาน Hot Button ของ Canopy ประจำปี 2020 สำหรับแนวทางปฏิบัติด้านการป่าไม้ที่ยั่งยืน และการพัฒนาโซลูชันแห่งอนาคตสำหรับวัตถุดิบทางเลือก

Birla Cellulose ให้การร่วมมืออย่างจริงจังกับคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน และทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับองค์กรระดับโลกอย่าง Canopy, SAC, ZDHC, Changing Markets Foundation, Textile Exchange, WBSCD, Fashion for Good และอื่น ๆ เพื่อเรียนรู้และใช้แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดอย่างต่อเนื่องในการดำเนินงานและทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทาน

เกี่ยวกับ UN Global Compact Network India

Global Compact Network India (GCNI) เครื่อข่ายท้องถิ่นในอินเดียของ United Nations Global Compact (UNGC) นครนิวยอร์ค คือเครือข่ายท้องถิ่นแห่งแรกทั่วโลกที่จะจัดตั้งขึ้นโดยได้รับการยอมรับทางกฎหมายอย่างเต็มที่ ในฐานะ UNGC ส่วนท้องถิ่น GCNI (https://www.globalcompact.in/) มีการดำเนินงานในระดับประเทศโดยเป็นแพลตฟอร์มระดับประเทศที่แข็งแกร่งสำหรับธุรกิจต่าง ๆ ในอินเดีย สถาบันการศึกษา และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมมือกันในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับแนวทางปฏิบัติทางธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ ‘หลักการ 10 ประการของเราในขอบเขตด้านสิทธิมนุษยชน, แรงงาน, สิ่งแวดล้อม, การต่อต้านคอร์รัปชั่น’ มีการกำหนดกรอบการทำงานที่ปฏิบัติได้และหลักจริยธรรมโดยทั่วไปเพื่อความรับผิดชอบขององค์กร 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มีการนำไปปรับใช้แล้วโดยรัฐสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมด 195 ราย ซึ่งรวมถึงอินเดีย ซึ่งเป็นที่เข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้โดยธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลก โดยไม่คำนึงถึงขนาด ความซับซ้อน หรือตำแหน่งที่ตั้ง